วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

    แนวทางการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี
ปวส. สาขาการจัดการ


คณะบริหารธุรกิจปริญญาตรี
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ
ปรัชญา
สร้างบัณฑิต  ผลิตนักบริหาร  มุ่งมั่นสู่องค์การสากล


ความสำคัญ
ผลิตบัณฑิตบริหารธุรกิจที่มีความรู้ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติทางด้านการจัดการให้  มีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  มีความพร้อมในการปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี และความก้าวหน้าทางนวัตกรรมอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมและประโยชน์ส่วนรวม
การจัดการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเน้นการตอบสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยในด้านการผลิตบัณฑิตด้านการจัดการที่มีความรู้ความสามารถทางการปฏิบัติแบบมืออาชีพสามารถบูรณาการองค์ความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านการจัดการ  ด้วยความมุ่งมั่นถึงผลสัมฤทธิ์  และตระหนักถึงการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในลักษณะการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมอีกทั้งยังสนับสนุนพันธกิจในด้านงานวิจัย  บริการวิชาการ  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด หลักการด้านการจัดการและสามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล วางแผน ติดต่อ ประสานงาน ติดตาม ประเมินผลพร้อมนำเสนอต่อผู้บริหารในระดับสูงขึ้นไป
2.เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีทักษะทางปัญญามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น  สามารถจัดการความขัดแย้ง  โดยใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นวัฒนธรรมคุณภาพเป็นสำคัญ
3.เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  สามารถปรับตัวเพื่อปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นรวมทั้งแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในขอบเขตการปฏิบัติงานของตนเอง
4.เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกทางด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีคุณธรรม มีจริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันหมั่นเพียรตรงต่อเวลา มีความสำนึกในจรรยาอาชีพ  ความรับผิดชอบต่อสังคมและคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
            5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีลักษณะเป็นมืออาชีพ (Professionalism) หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์วิชาชีพเป็นอย่างดีมีทักษะในการปฏิบัติ และประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด และมีจิตสาธารณะ (Public Mind)  หมายถึง  การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมเป็นจิตที่คิดสร้างสรรค์ เป็นกุศล และมุ่งทำกรรมดีเพื่อเป็นประโยชน์ส่วนรวม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1.  อาชีพด้านการจัดการ บริหาร และธุรการ เช่น เลขานุการ ผู้จัดการบริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ธุรการ
2. อาชีพด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น ผู้จัดการทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการแรงงานสัมพันธ์
3. อาชีพด้านการควบคุมการผลิตสินค้า งานจัดการวัสดุและสินค้าคงคลัง เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต ฝ่ายบริหารคลังสินค้า
4.  อาชีพด้านการตรวจสอบและประกันคุณภาพ เช่น เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพ
5.  อาชีพด้านการวิเคราะห์หรือวิจัยสารสนเทศทางธุรกิจ ได้แก่ งานนโยบายและแผน ฝ่ายกลยุทธ์ เช่น  นักวิชาการบริหารงานสำนักงาน
6.  อาชีพด้านการนำเข้า-ส่งออกสินค้า การค้าระหว่างประเทศ
7.  อาชีพด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน เช่น เจ้าหน้าที่การเงิน  พนักงานบัญชี
8.  ประกอบอาชีพอิสระ เช่น  เป็นผู้ประกอบการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น