วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ฤดูหนาวรับประทานอะไรดี

สำหรับการรับประทานอาหารในช่วงฤดูหนาวเราควรเลือกรับประทานอาหารที่ร้อนและปรุง เสร็จใหม่ๆ ควรมีรสเปรี้ยวอมขมเล็กน้อย และรสเผ็ด เช่น แกงส้มดอกแค แกงขี้เหล็ก แกงป่า สะเดาน้ำปลาหวาน และน้ำพริก เพราะธรรมชาติจะปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพรในฤดูต่างๆ ก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
ในฤดูหนาว มักจะมีสมุนไพรพื้นบ้าน เช่น สะเดา ซึ่งมีรสขม เมื่อกินแล้วจะช่วยแก้ไข้ ทำให้เจริญอาหาร ขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยระบาย ดอกแคแก้ไข้หัวลม เราควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านที่มีอยู่ตามฤดูกาล ส่วนการเลือกเครื่องดื่มในช่วงหน้าหนาวนี้ ควรจะเป็นเครื่องดื่มร้อน ๆ เช่น น้ำขิง ชาสมุนไพร เพื่อช่วยให้ชุ่มคอ ลดอาการไอ แก้หวัด ซึ่งป้องกันการเป็นหวัดในช่วงนี้ได้อีกทางหนึ่งด้วย

หน้าหนาวควรดูแลร่างกายอย่างไร
ด้วย อากาศที่หนาวเย็น เราควรอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นและเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่หนา แต่บางครั้งการอาบน้ำอุ่นจะทำให้ผิวแห้งง่ายกว่าอาบน้ำเย็น เพราะน้ำมันที่ผิวหนังจะถูกชะล้างออกไป รวมทั้งความชื้นของอากาศที่ลดลง ก็จะเพิ่มให้ผิวแห้งแตกและคันได้ง่าย 
ดังนั้นเราควรจะดูแลร่างกายในช่วงหน้าหนาวนี้เป็นพิเศษโดยสามารถนำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ดูแลผิวพรรณ อย่าง น้ำมันงา ขมิ้นชัน ผิวมะนาว และผิวมะกรูด

สมุนไพรดูแลผิวพรรณ
- น้ำมันงา นำงาดิบประมาณ 1 ถ้วย โขลกให้ละเอียด บีบเอาน้ำมันจากงาเก็บไว้ในขวด ทาผิวตอนเช้าและก่อนนอน น้ำมันงาจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ลดอาการแห้งแตกและคัน
- ขมิ้นชัน มีสรรพคุณช่วยลดอาการคันและช่วยลดอาการผดผื่นตามผิวหนัง เพียงนำขมิ้นชันสดมาล้างให้สะอาด โขลกให้ละเอียด บีบน้ำที่ได้นำมาทาผิว หลังอาบน้ำเช้า-เย็น แต่อาจจะมีสีของขมิ้นติดตามเสื้อผ้าที่สวมใส่
- ผิวมะกรูด น้ำมันที่ผิวของมะนาวและมะกรูด จะช่วยเคลือบผิว ให้ชุ่มชื้น ลดอาการคัน ลดการอักเสบ โดยนำมะนาวที่ใช้แล้ว ส่วนบริเวณผิวด้านนอกของมะนาว มาทาผิวบริเวณที่แห้งคัน เช้า-เย็น ก็จะช่วยลดอาการคันได้

การดูแลสุขภาพด้วยการอาบสมุนไพร
การอาบน้ำอุ่นในฤดูหนาวจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เพราะในฤดูหนาว คนส่วนใหญ่มักจะเป็นหวัด คัดจมูก และคันตามผิวหนัง ซึ่งหากนำสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการคัน มาต้มอาบแทนน้ำเปล่า ก็จะช่วยบรรเทาอาการคันได้ดี สมุนไพร ที่หาได้ง่าย ที่ควรนำมาต้มมีดังนี้
- ยอดผักบุ้ง จำนวน 5 ยอด ใช้รักษาอาการคัน
- ใบมะกรูด จำนวน 3-5 ใบ แก้วิงเวียน ช่วยให้หายใจสบาย
- ต้นตะไคร้ จำนวน 3 ต้น บำรุงธาตุไฟ
- หัวไพล จำนวน 2-3 หัว ลดอาการอักเสบ ปวด บวม
- ใบหนาด จำนวน 3-5 ใบ ช่วยบำรุง แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลือง
- หัวขมิ้นชัน จำนวน 2-3 หัว ช่วยสมานแผล แก้คันตามผิวหนัง
- การบูร จำนวน 15 กรัม ช่วยบำรุงหัวใจ
- หัวหอมแดง จำนวน 3-5 หัว แก้หวัดคัดจมูก

เพียงนำสมุนไพร ทั้งหมดมาต้มรวมกัน ผสมน้ำเย็นให้พออุ่น แล้วนำมาอาบ สรรพคุณของสมุนไพรก็จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดอาการคันตามผิวหนัง ช่วยให้หายใจโล่ง แค่นี้สาว ๆ ก็จะรู้สึกสบายตัว ไม่ต้องกังวลกับฤดูหนาวแล้วค่ะ

        เลือกรับประทานผลไม้หนาว



สตรอว์เบอร์รี่
อุดมด้วยวิตามินซี มีประโยชน์ต่อเหงือก และฟัน เมล็ดเล็ก ๆ ที่กระจายตามผลของสตรอว์เบอร์รี่จัดเป็นแหล่งไฟเบอร์อย่างดี นอกจากนี้ยังมี โฟเลท โพแทสเซียม และแอนตี้ออกซิแดนท์ คุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผลไม้ชนิดนี้ดีต่อสุขภาพของทุกคนในครอบครัวค่ะ เพราะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และมะเร็งชนิด   ต่าง ๆ และนี่คือเหตุผลที่คุณควรกินสตรอว์เบอร์รี่

แอปเปิ้ล
นอกจากรูปทรง สีสันที่สวยงาม และความอร่อยที่ซ่อนอยู่ในเนื้อกรอบ ๆ แล้ว แอปเปิ้ลยังมีแร่ธาตุมากมายทั้งโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ซีลิเนียม วิตามินเอ วิตามินซี โฟเลท ซึ่งสำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และยังมีวิตามินอี ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลที่สำคัญ ผลแอปเปิ้ลยังมีเส้นใยที่เรียกว่าเพคติน ซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้เกิดการบีบตัวมาก เหมาะกับคนที่เป็นโรคท้องผูก ป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อย่างดี

ลูกแพร์
เป็นผลไม้ที่มาพร้อมลมหนาวอีกชนิดที่มีรสหวานฉ่ำ อุดมไปด้วยไฟเบอร์ มีแร่ธาตุอย่างสังกะสี เหล็ก อุดมไปด้วยวิตามินซี อี และบีบางชนิด แถมยังมีเอนไซม์ที่ชื่อไฟซิน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยย่อย เป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องขับถ่ายลำบากเป็นอย่างยิ่ง

 กีวีฟรุต
กีวีเพียงหนึ่งหรือครึ่งลูกจะมีวิตามินซีเทียบได้กับส้ม 1 ผลเลยล่ะ นอกจากนี้ เมล็ดสีดำในกีวียังเป็นแหล่งของใยอาหารชั้นดี และยังมีปริมาณของโปแทสเซียมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับกล้วยหอม มีวิตามินเอ และอี เปลือกของกีวีเป็นแหล่งของสารแอนตี้ออกซิแดทน์ เมล็ดในของกีวีมีกรดโอเมก้า 3 แถมยังมีแคลอรี่ต่ำด้วยค่ะ เพราะกีวี 1 ผล จะให้พลังงานเพียง 46 กิโลแคลอรี่ กีวีฟรุตเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน และทางพฤกษศาสตร์กำหนดให้กีวีเป็นผลไม้ตระกูลเบอรี่ เหมือนกับเสาวรส หรือกระทกรกนั่นเอง

องุ่น
จริงอยู่ที่องุ่นจะออกผลได้ตลอดปี แต่ฤดูหนาวเป็นช่วงที่องุ่นมีรสอร่อยที่สุดค่ะ องุ่นเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารที่สำคัญคือน้ำตาล ที่เป็นทั้งซูโคส และกลูโคส นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้ง วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็ก ซึ่งเป็นประโยชน์ในระบบการทำงานประสาท และการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
http://women.sanook.com/8615

Management Meaning ความหมายของการบริหารจัดการ
ความหมายของการบริหาร
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็นผลสำเร็จกล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การบริหารเป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์ในการบริหาร โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมายซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์
การจัดการคือ
กระบวนการทำงานหรือการจัดการมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อ ความสำเร็จที่จะทำให้เกิดผลกำไรและช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้นอกจากนี้กระบวนการจัดการยังเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จากแต่ละองค์กรมีปัจจัยความสำเร็จที่ต่างกัน
การจัดการ(Management)ก็คือกระบวนการต่างๆในการทำให้องค์กรธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี ขั้นตอนตั้งแต่การวางแผน การจัดการองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงานและการควบคุม เป็นเครื่องมือสำคัญ โดยมีทักษะของผู้บริหารหรือเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ นั้นเอง
ความหมายของการบริหารจัดการ
ธุรกิจหรือองค์กรแสดงให้เห็นจากกลุ่มของบุคคลที่มาร่วมกันทำงานด้วยโครงสร้างและการประสานงาน เป็นหลักการชัดเจนแน่ชัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ (Ricky W. Griffin, 1999, p.6) ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ประกอบด้วย
1. คน (Man)
2. เงิน (Money)
3. วัตถุดิบ (Material)
4. เครื่องจักร (Machine)
5. วิธีการ (Method)
6. การบริหาร (Management) หรือที่นิยมเรียกกันว่า 6M’s
ความหมายของการบริหารจัดการนั้น สามารถจำกัดออกมาตามความเข้าใจได้ โดย คำว่า “Management” อาจแปลว่า การจัดการหรือการบริหารหรือการบริหารจัดการก็ได้ซึ่งในหนังสือองค์การและการ จัดการฉบับสมบูรณ์ โดย รศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2545, น.18-19) ได้รวบรวม ความหมายของคำว่า การบริหารจัดการ” และ การจัดการ” ได้ดังนี้
1. คำว่า การบริหาร” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ และคำว่า ผู้บริหาร” (Administrator) จะหมาถึง ผู้บริหารที่ทำงานอยู่ในองค์กรของรัฐ หรือองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร (Schermerhorn, 1999, p.G-2)
การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จ ตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน
2. คำว่า การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management) ส่วนคำว่า ผู้จัดการ” (Manager) จะหมายถึงบุคคลในองค์กรซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมในการบริหาร ทรัพยากรและกิจการงานอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การบริหารจัดการ (Management) หมายถึงชุดของหน้าที่ต่าง ๆ (A set of functions) ที่กำหนดทิศทางในการใช้ทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรได้อย่างเฉลียวฉลาดและคุ้มค่า (Cost-effective) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) นั้นหมายถึงการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง (Right decision) และมีการปฏิบัติการสำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ดังนั้นผลสำเร็จของการบริหารจัดการจึงจำเป็นต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควบคู่กัน (Griffin, 1997, p.4)
ในอีกแนวหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการ หมายถึง กระบวนการของการมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรจากการทำงานร่วมกัน โดยใช้บุคคลและทรัพยากรอื่น ๆ (Certo, 2000, p.555) หรือเป็นกระบวนการออกแบบและรักษาสภาพแวดล้อมที่บุคคลทำงานร่วมกันในกลุ่มให้ บรรลุเป้าหมาย
คำว่า การบริหาร” (Administration) และ การจัดการ” (Management) มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย โดยการบริหารจะสนใจและสัมพันธ์กับการกำหนดนโยบายไปลงมือปฏิบัติ นักวิชาการบางท่านไห้ความเห็นว่าการบริหารใช้ในภาครัฐ ส่วนการจัดการใช้ในภาคเอกชน ให้ทั้ง 2 คำนี้มีความหมายไม่แตกต่างกัน สามารถใช้แทนกันได้และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
จากความหมายต่าง ๆ ข้างต้น การบริหารจัดการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกันซึ่งผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรประเด็นสำคัญของการบริการจัดการ (Management) มีดังนี้
1. การบริหารจัดการสามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้
2. เป้าหมายของผู้บริหารทุกคนคือ การสร้างกำไร
3. การบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิต โดยมุ่งสู่ประสิทธิภาพ วิธีการใช้ทรัพยากรโดยประหยัดที่สุดและประสิทธิผล  บรรลุเป้าหมายคือประโยชน์สูงสุด
4. การบริหารจัดการสามารถนำมาใช้สำหรับผู้บริหารในทุกระดับชั้นขององค์กร